Jack Dorsey ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter ที่ไม่ได้รวยจาก Twitter /โดย ลงทุนแมน
หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับ “Jack Dorsey” หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Twitter
โดยปัจจุบัน เขายังคงดำรงตำแหน่งเป็น CEO ของบริษัทแห่งนี้
Twitter ได้เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเมื่อปี 2013 ซึ่งนั่นก็ได้ทำให้ Dorsey ก้าวขึ้นมาเป็น Billionaire หรือเศรษฐีที่มีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 33,000 ล้านบาท ได้เป็นครั้งแรก
ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน Dorsey มีทรัพย์สินกว่า 458,000 ล้านบาท ซึ่งหลายคนก็น่าจะคิดว่าความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของเขามาจากบริษัท Twitter
แต่ข้อเท็จจริง กลับไม่ได้เป็นแบบนั้น..
เพราะจริง ๆ แล้ว Dorsey มีทรัพย์สินจากการถือหุ้น Twitter เพียง 37,000 ล้านบาท หรือราว 8% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่เขามี ส่วนความมั่งคั่งอีกกว่า 419,000 ล้านบาท มาจากมูลค่าหุ้นของอีกบริษัทหนึ่ง
ซึ่งเขาก็เป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO เช่นกัน โดยบริษัทนั้น มีชื่อว่า “Square”
ทำไม Dorsey ถึงได้ก่อตั้งอีกบริษัทหนึ่งที่ทำให้เขามีความมั่งคั่งมากขึ้น
แล้ว Square ทำธุรกิจอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Twitter เปิดตัวในปี 2006 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 4 คน นั่นก็คือ Jack Dorsey, Evan Williams, Biz Stone และ Noah Glass ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็น CEO คนแรกของบริษัท ก็คือ Dorsey
แต่ในปี 2008 Williams และกรรมการบริหารได้ร่วมกันบังคับให้ Dorsey ออกจากตำแหน่ง CEO ด้วยเหตุผลที่ว่า Dorsey ทำตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ เขาจึงถูกแต่งตั้งเป็นประธานแทน ซึ่งตำแหน่งนี้ทำให้เขาไม่มีอำนาจในการบริหารงาน
ในขณะที่คนที่รับตำแหน่ง CEO แทน Dorsey ก็คือ Williams
แต่สุดท้ายแล้วในปี 2010 Williams ก็ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งเหมือนกัน
1 ปีหลังจากนั้น Dorsey จึงได้กลับมามีบทบาทที่ Twitter อีกครั้ง โดยการรับตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารที่ดูแลด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะกลับมาเป็น CEO อีกครั้งในปี 2015
แล้วในช่วงที่ Dorsey ไม่ได้บริหารงานที่ Twitter เขาทำอะไร ?
วันหนึ่งในช่วงต้นปี 2009 หลังจากที่ Dorsey เพิ่งโดนบังคับให้ออกจากการเป็น CEO บริษัท Twitter ได้ไม่นาน เพื่อนของเขาที่ชื่อ Jim McKelvey ก็ได้โทรศัพท์มาหา
McKelvey เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นศิลปินเป่าแก้ว ที่เปิดสตูดิโอเครื่องแก้วไปด้วย
McKelvey โทรศัพท์หา Dorsey เพื่อเล่าว่าเขาเพิ่งหัวเสียจากการพลาดโอกาสขายเครื่องแก้วมูลค่า 66,000 บาท เพราะลูกค้ามีแต่บัตรเครดิต แต่เขาไม่มีเครื่องรูดบัตรเครดิต
ทั้ง Dorsey และ McKelvey กำลังคุยโทรศัพท์กันด้วย iPhone และก็เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ก็เริ่มมี iPhone พกติดตัวตลอดเวลา Dorsey เลยเกิดไอเดียว่าทำไมเราไม่ทำให้ iPhone กลายเป็นอุปกรณ์ใช้รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้
Dorsey และ McKelvey ที่เคยคุยกันมาสักพักแล้วว่าอยากหาโอกาสทำโปรเจกต์เจ๋ง ๆ ด้วยกัน
พวกเขาจึงได้ตกลงต่อยอดไอเดียนี้ร่วมกันทันที
ผ่านไปเพียง 1 เดือน ทั้ง Dorsey และ McKelvey ก็สามารถเปลี่ยนสมาร์ตโฟนให้เป็นเครื่องรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้
สิ่งที่พวกเขาสร้างมี 2 ส่วน อย่างแรกก็คืออุปกรณ์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็ก ที่มีแจ็กเพื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนทางรูเสียบหูฟัง ซึ่งใช้สำหรับรูดบัตรเครดิต
อย่างที่สองก็คือ แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ที่ใช้เป็นระบบรับชำระเงิน ซึ่งการเซ็นชื่อจะใช้นิ้วมือเขียนบนหน้าจอสมาร์ตโฟนได้เลย ส่วนใบเสร็จจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งเข้าไปที่อีเมล
พวกเขาจึงได้ตั้งชื่อบริษัท ตามรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสของอุปกรณ์ที่ใช้รูดบัตร ชื่อว่า “Square”
Square สามารถระดมทุนในรอบแรกได้ 330 ล้านบาท จากนักลงทุน เช่น
- Biz Stone ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter
- Marissa Mayer ที่เป็นอดีต CEO ของ Yahoo!
- Shawn Fanning ผู้ร่วมก่อตั้ง Napster
หลังจากนั้น Square ก็ได้เปิดตัวในปี 2010 โดยเริ่มจากการขายผลิตภัณฑ์ ผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง และบริการจัดส่งสินค้าให้ฟรี
จุดเด่นของ Square ก็คือ เมื่อสมาร์ตโฟนใช้เป็นเครื่องรูดบัตรเครดิตได้ ก็ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่แม้จะเป็นเพียงรถเข็นขายไอศกรีมหรือพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดนัด ก็สามารถรับบัตรเครดิตได้ เช่นกัน
ที่สำคัญก็คือ Square คิดค่าธรรมเนียมร้านค้าที่รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ต่ำกว่าเครื่องรับบัตรเครดิตจากสถาบันการเงิน นั่นจึงทำให้ร้านค้าขนาดเล็กที่เคยลังเลกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการรับบัตร หันมาเลือกใช้ Square
ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ ก็ได้ทำให้ Square ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ผ่านไปไม่ถึงปี Square สามารถขายอุปกรณ์รูดบัตรเครดิตไปได้กว่า 50,000 ชิ้น
ความสำเร็จนี้ ก็ทำให้ Square ได้รับเงินลงทุนจนสามารถเป็นยูนิคอร์นสตาร์ตอัป หรือบริษัทที่ถูกประเมินมูลค่ามากกว่า 33,000 ล้านบาท ได้ในปี 2011 หรือหลังจากเริ่มขายสินค้าเพียงปีเดียว
แต่ความนิยมของ Square ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในกลุ่มเจ้าของร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น
เพราะกลายเป็นว่าธุรกิจขนาดใหญ่ก็หันมาใช้ระบบรับบัตรเครดิตของ Square เช่นกัน
ในปี 2013 Square จึงได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์สำหรับร้านค้า โดยใช้ชื่อว่า Square Stand
ที่เป็นการเปลี่ยน iPad ให้เป็นเครื่องรับชำระเงินตามร้านค้าหรือที่เรียกว่า “POS”
โดย Square Stand เป็น POS ที่ใช้รูดบัตรเครดิตได้ในตัว ไม่ต้องซื้อเครื่องรูดบัตรเครดิตแยก
และสิ่งที่ทำให้ Square Stand ได้รับความนิยมสูงมาก ก็คือซอฟต์แวร์ที่มากับเครื่อง POS
POS ของ Square มีระบบที่แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อร้านค้า เช่น ผลกำไรขาดทุน ประเภทสินค้าที่ขายดี และข้อมูลทางสถิติอื่น ๆ ได้แบบเรียลไทม์ จึงทำให้ร้านค้า สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจตัวเอง ในมุมมองที่กว้างขึ้นและสามารถปรับตัวได้เร็ว
เรื่องดังกล่าวก็ได้ทำให้ Square มีฐานลูกค้าตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก อย่างเช่น คีออสก์ขายกาแฟ ไปจนถึงเชนร้านกาแฟที่ใหญ่สุดในโลกอย่าง Starbucks
อีกบริการที่มีส่วนสำคัญกับรายได้ของ Square ก็คือ Square Capital หรือการปล่อยสินเชื่อก้อนเล็ก ให้กับธุรกิจขนาดเล็ก
โดย Square เข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ แต่ Square จะประเมินการให้สินเชื่อด้วยข้อมูลยอดขายจาก POS ของร้านค้าที่ใช้ Square Stand กับโมเดล AI ที่บริษัทพัฒนาเอง
นอกจากนั้น Square ยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการจ่ายคืนหนี้ให้กับร้านค้า โดยอิงกับยอดการรูดบัตรเครดิตผ่าน Square Stand นั่นคือถ้ายอดขายดี ก็จะให้ร้านค้าจ่ายคืนหนี้จำนวนมากขึ้น ถ้ายอดขายลดลงก็จ่ายคืนหนี้น้อยลงได้ตาม
ทั้งหมดนี้ ก็ทำให้ Square เป็นระบบนิเวศที่มีบริการครอบคลุมความต้องการของร้านค้าอย่างครบวงจร ซึ่งนอกจากจะทำให้ Square ได้รับความนิยมมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ร้านค้าที่คิดจะเปลี่ยนบริการจาก Square ไปใช้เจ้าอื่นก็ทำได้ยากขึ้นด้วย
นอกเหนือจากระบบรับชำระเงินของร้านค้าแล้ว Square ยังได้ต่อยอดไปทำแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “Cash App” ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนกว่า 30 ล้านคน
โดย Cash App เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล ที่ให้ผู้ใช้งานผูกบัญชีส่วนตัวเข้ากับบัญชีธนาคาร เพื่อใช้ชำระเงิน โอนเงิน หรือจ่ายบิลได้
ซึ่งลูกค้าที่ใช้ Cash App ชำระสินค้าผ่านร้านที่ใช้ POS ของ Square ก็จะมี Reward ให้ด้วย
รวมถึงผู้ใช้งาน Cash App ยังได้บัตรเดบิตที่เรียกว่า Cash Card ไปใช้ฟรีด้วย
ธุรกรรมที่ทำผ่าน Cash App เกือบทั้งหมดจะให้บริการฟรี แต่จะคิดค่าธรรมเนียมบางกรณี อย่างเช่น ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากร้านค้าที่รับชำระด้วย Cash Card หรือค่าธรรมเนียมฝากถอนโอนเงินแบบด่วน
นอกจากนี้ Cash App ยังได้เริ่มให้บริการเกี่ยวกับการลงทุน โดยให้บริการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีได้แล้วด้วย
ในปี 2015 หลังจากที่ Dorsey กลับไปเป็น CEO ของ Twitter ได้ไม่นาน Square ก็จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ซึ่งจนถึงปัจจุบันราคาหุ้น Square ก็เพิ่มขึ้นมากว่า 27 เท่า
นั่นจึงทำให้มูลค่าหุ้น Square ที่ Dorsey ถืออยู่ มีมูลค่า 419,000 ล้านบาท
ซึ่งคิดเป็นเกือบทั้งหมดของมูลค่าทรัพย์สินที่ Dorsey มีกว่า 458,000 ล้านบาท
ขณะที่มูลค่าหุ้นของ Twitter ที่ Dorsey ถืออยู่ มีมูลค่า 37,000 ล้านบาท
จากเรื่องทั้งหมดนี้ ก็อาจทำให้เราคิดได้ว่า
ในวันที่เราถูกบังคับให้ออกจากสิ่งที่เราคิดว่าดี
แต่ในความเป็นจริง เราอาจพบกับสิ่งที่ดีกว่าหลังจากนั้นก็ได้
เหมือนกรณี Dorsey ที่ความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของเขาในวันนี้ มาจากบริษัทชื่อ Square ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมา หลังจากที่ Dorsey โดนบีบให้ออกจากบริษัท Twitter ในวันนั้น นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.cnbc.com/2019/10/10/how-square-became-26-billion-dollar-company.html
-https://www.businessinsider.com/fabulous-life-of-billionaire-jack-dorsey-taking-square-public
-https://www.businessinsider.com/how-jack-dorsey-came-to-invent-square-and-twitter-2012-9
-https://www.fool.com/investing/2018/11/21/square-stock-history-a-complete-timeline.aspx
-https://sec.report/Document/0001140361-21-014943/
-https://sec.report/Document/0001140361-21-012582/
-https://www.sec.gov/Archives/edgar/data/1418091/000119312513390321/d564001ds1.htm
-https://www.forbes.com/profile/jack-dorsey/?sh=570cdf2b2372
-https://finance.yahoo.com/news/rich-twitter-ceo-jack-dorsey-172600709.html
-https://squareup.com/us/en/about
yahoo stock us 在 川味小鹿 - 歐美折扣情報 /代購服務 Facebook 的最佳貼文
💖 Minnetonka 莫卡辛現貨四雙在台灣 💖
上次沒跟到團購的人看過來
現在有現貨四雙在台灣
匯款後三個工作天內出貨唷 🤩
杏色基本款 🍀 7號(US)
棕色雷鳥款 🍀 6.5號(US)、7號(US)
棕色民俗款 🍀 7號(US)
‼️價格只要NT1770+郵資‼️
給他買起來 👉 https://www.taipeisichuanstyle.com/categories/stock
使用手機瀏覽者,左上角可開啟選單
記得詳閱代購規則後再下單唷
⚠️ 賣場下單方式 ⚠️
將商品加入購物車後選擇結帳
會有匯款資料寄到您的信箱~
所有訂單明細、對帳、貨況等相關通知
皆會透過系統通知寄送至您的EMAIL
請填寫您經常使用的信箱
避免漏掉訂單訊息。
不建議使用YAHOO雅虎信箱
因該信箱漏信、擋信狀況較為嚴重
若您為YAHOO信箱使用者
系統通知信有可能跑至垃圾信件匣
請多多注意。
✔ 多多按讚保持看到最新折扣資訊唷!
✔ 代購的遊戲小規則:https://goo.gl/kEdPFY
yahoo stock us 在 Azizan Osman Facebook 的最佳解答
Kita tidak tahu apa yang kita tidak tahu. Saya di US hadir kelas. Dan hari ini hari pertama di sini dan banyak "A'ha moment" bila ditunjukkan tentang betapa pantasnya perubahan teknologi dan pelbagai perkara di seluruh dunia serta bagamana ia memberi impak kepada kita.
Saya bangga menjadi seorang sahaja dari Malaysia menghadiri Executive Program dibawah #SingularityUniversity #SUEP sesi ini bersama 80 orang dari 29 buah negara dalam dunia. Dan setiap kali mereka bertanya apa yang saya buat, saya akan berkongsi tentang apakah yang telah Richworks lakukan selama 9-tahun ini membina usahawan dan bakal usahawan serta sehingga kini program kami telah dihadiri lebih 470,000 orang peserta.
Singularity University merupakan sebuah tempat di NASA campus di Silicon Valley yang mana seseorang perlu memohon untuk diterima selama 6-hari didedahkan dengan pelbagai teknologi dan research terkini tentang perubahan teknologi dan industri dimasa hadapan (Yang sebenarnya sedang berlaku sekarang).
Salah satu perkara yang ditekankan hari ini adalah tentang perubahan.
The only one thing yang berlaku setiap hari adalah perubahan. Dan jika kita tidak mahu berubah atau tidak tahu apa yang berubah, kita akan diubah atau ketinggalan jauh.
Contoh paling best hari ini yang diberikan adalah mengenai Yahoo dan Google.
Yahoo adalah syarikat awal yang membina search engine bermula pada tahun 1994 dan kemudian listed di stock exchange pada tahun 1996 berjaya raised $34 juta ketika itu. Google (Nama asalnya bukan Google tetapi Backrub) dimulakan oleh 2 orang pelajar Standford University pada tahun 1996, kemudian menawarkan kepada Yahoo untuk membelinya pada harga $1 juta pada tahun 1998 tetapi Yahoo menolak tawaran mereka dengan alasan mahal.
Disebabkan Yahoo tidak mahu membelinya, maka pengasasnya Larry Page dan Sergey Brin menukarkan nama syarikatnya dari Backrub kepada Google pada tahun yang sama (1998) dan terus mengembangkan Google.
Pada tahun 2002, Yahoo rasa terancam dengan Google dan kali ini menawarkan untuk membeli Google dengan harga US$3 billion, tetapi Pengasas Google counter offer dengan tawaran US$5billion dan Yahoo menolaknya sekali lagi, sangat mahal kata Yahoo.
Pada tahun 2004, Google listed dan raised hanya $1.64billion.
Pada tahun 2008, Microsoft bid nak beli Yahoo $54billion untuk diambilalih. Dan selepas itu Yahoo semakin menurun nilainya.
Tetapi nilai Google pada tahun 2016 adalah $545billion.
Point penting yang saya belajar adalah sesebuah syarikat boleh berkembang exponentially dalam masa yang singkat bila mereka sentiasa bersedia untuk belajar dan adapt kepada keadaan semasa serta peka dengan apa yang berlaku tetapi sebuah syarikat atau organisasi boleh lingkup bila orang-orang di dalamnya terutamanya mereka yang menerajuinya tidak mahu berubah mengikut keadaan.
Ada banyak point lagi untuk hari pertama ini dan pastinya tidak mampu saya nak tuliskan ke semuanya. Yang pasti, kita tidak tahu apa yang kita tidak tahu sehingga kita buat keputusan untuk belajar.
Nak saya share lagi?
#AzizanOsman
yahoo stock us 在 Market Coverage: Friday December 3 Yahoo Finance - YouTube 的美食出口停車場
... <看更多>